หิน...นคร
วันนี้นับว่าฤกษ์ไม่ดี
ปั่นจักรยานริมกว๊านดีๆ
ดันเจอผู้ว่าราชเกิน (คนหัวล้านเสื้อเหลือง)
และซวยหนักไปอีกเมื่อเจอ รัฐมนตรี
(ท่องเที่ยวกับกีฬา มันไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย)
(หัวหงอก เสื้อขาว : เขามาจากการแต่งตั้งของทหารบ้าอำนาจ)
บรรดาลูกกระจ้อกที่ถูกเกณฑ์มาเป็นหน้าม้า
จากการสูดดม พบว่า เขาตั้งวงเสวนากันในเรื่องที่ฮิตมากในพะเยา
นั่นคือการท่องเที่ยว คุยเรื่องเดิมว่า จะลากคอคนจังหวัดอื่นมาจังหวัดเราได้อย่างไร
ที่สำคัญ พวกมันมาแล้วต้องควักเงินใช้ในจังหวัดเราด้วย
ทนฟังอยู่นานกว่าสองนาที ถ่ายรูปพวกนี้เสร็จก็มาเจอกับ....หิน
หิน...ก้อนใหญ่มาก ดูแล้ว ไม่น่ามีความสวยงาม
แต่มาอยู่ริมกว๊านพะเยา
ถ้าผมเป็นท่าน รมต. และบังเอิญแหกตาเห็นหิน ผมต้องถามผู้ว่าทันที
อย่างสุภาพว่า ...นี่มันหินเหี้ยอะไรครับ?
พูดถึงเรื่องหิน... มีโครงการมาให้ดู
ชื่อโครงการ : ปรับแต่งภูมิทัศน์ ถนนร่มรื่น เมืองน่าอยู่
หลักการและเหตุผล
ชัยภูมิของจังหวัดพะเยานี้นับเป็นเพียงเมืองผ่านไปยังจังหวัดอื่น ที่ผ่านมา เศรษกิจของเมืองพะเยาไม่มีการไหลเวียนโดยสะดวกเท่าที่ควร ตามทฤษฎีแล้วการท่องเที่ยว นับเป็นคาถาอันวิเศษ ศักดิ์สิทธิ์ จะสร้างรายได้ เม็ดเงินมหาศาลให้หมุนเวียนใน จ.พะเยา ส่วนที่ว่าเม็ดเงินจะไปหมุนเวียนในกระเป๋าผู้ใดบ้างนั้น ไม่ใช่ภาระหน้าที่จะต้องทราบ เอาเป็นว่า เงินจะเข้ามาในจังหวัดเราก็แล้วกัน
จากเหตุผลดังกล่าว ทางผู้บริหารเมืองเห็นว่า พะเยา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์
จากผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ.โรงแรมแห่งหนึ่งย่าน พัฒพงษ์ ทางผู้บริหารได้ มีมติว่า
หิน แสดงอัตลักษณ์และตัวตนของชาวพะเยาได้ดีที่สุด ดังเหตุผลดังต่อไปนี้
1. แต่โบราณนานมา ช่างแกะหินทรายเมืองพะเยานับเป็นสกุลช่างที่เก่งที่สุด หินจึงเป็นตัวแทนที่ดีที่สุด
2. หินแสดงถึงความหนักแน่นของชาวพะเยาที่มีมาแต่โบราณ (ตำนานเล่าว่า พะเยาต้องเป็นเมืองร้างกว่าหกสิบปีเพราะพากันหนีคราวเงี้ยวห้าร้อยคนบุกเมือง แต่ตกใจหนีเพราะมีคนตะโกนว่ามากันห้าพัน )
3. แสดงถึงความวิริยะอุตสาหะอันเป็นพื้นนิสัยคนพะเยา
และ ในวโรกาสที่พระเจ้าอยู่หัวจะมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา
ดังนั้น ทางจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ในเมืองพะเยา
ให้มีความร่มรื่น สมกับที่เป็นเมืองน่าอยู่ ทั้งนี้ จะต้องสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องหิน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ช่วงนี้ ผมพยายามคิดแทนผู้บริหาร
หลังจากที่สังเกตเห็นว่า มีผู้นำหินก้อนใหญ่สุดอลังการ
มาวางไว้ในร่องกลางถนนสี่เลน บริเวณถนนสายหลักสายหนึ่งในเขตจังหวัดพะเยา
ผมร่างโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ตัวผมเองสบายใจ
ปลอบใจตัวเองว่า การที่หิน ไปอยู่กลางถนน มันเป็นเรื่องที่มีเหตุ มีผล
ด้วยถนนเส้นนี้เป็นถนนสายหลักผ่านไปได้ทั้ง
จ.ลำปาง จ.เชียงราย และอำเภอห่าเหวอีกมากมายในจังหวัดนี้
ผู้สัญจรจึงไม่ใช่แค่เพียงแต่ชาวพะเยาเท่านั้น
ที่สามารถมองเห็นความมหัศจรรย์นี้
แต่ประชากรในจังหวัดอื่นต่างก็ล่ำลือ
ถึงความงามอันยิ่งใหญ่ของหินดังกล่าว
ตามทฤษฎี
สิ่งที่ควรจะอยู่บริเวณเกาะกลางถนนมากที่สุดน่าจะเป็น ไม้พุ่มเตี้ย
เพราะไม้ดังกล่าวนอกจากจะ ไม่บดบังทัศนะวิสัยของผู้ขับขี่แล้ว
ยังช่วยชะลอความเร็วและรองรับแรงกระแทก
กรณีรถเสียหลักลงเกาะกลางถนน
ข้อมูลกระซิบ
หินดังกล่าวถูกเก็บไว้ในโกดังของผู้รับเหมารายหนึ่งมานาน
นานจนต้องคิดกันว่า จะระบายของชิ้นนี้ออกไปอย่างไรดี
และในที่สุด มันถูกกระจายไปวางตามจุดต่างๆทั่วเมืองพะเยา
ในนามแห่งความสวยงามในสายตามนุษย์บางพวก
อย่างไรก็ดี เมื่อมีหินมาตั้งตระหง่านกลางถนนอย่างนี้
ไม่นาน อุบัติเหตุที่คาดฝันก็พลันจะบังเกิด
ถึงเวลานั้น ผู้รับผิดชอบควรเป็นใคร
ลองใช้หัวแม่ตีนคิดกันเล่นๆว่า เมื่อรถที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูง
เสียหลักวิ่งเข้าชนหินก้อนใหญ่ๆ สภาพศพคนขับจะเป็นอย่างไร?
ในกรณีที่ท่านไม่มีหัวแม่ตีน ท่านน่าจะมีเศษสมองติดใต้กะโหลกอยู่บ้าง ....
แนะนำว่าลองนำหินไปบดหยาบๆรับประทานแทนข้าว
อาจจะช่วยให้เศษสมองใต้กะโหลกเพิ่มปริมาณขึ้น
อีกทั้งอาจช่วยให้ต่อมรับทัศนีย์ภาพ
เห็นความสุนทรียะบนโลกมากกว่าเศษเงินที่ได้จากผู้รับเหมา
ภาวนาให้หินก้อนสุดท้าย ตั้งตระหง่านบนแต่เพียงบนหลุมฝังศพของท่าน
(ในกรณีที่ท่านยังมีแผ่นดินอยู่)
ก่อน......ทุกอย่างจะสายไป
ก่อน.......เมืองของเราจะมีแต่หินโสโครก
ก่อน.....คนใจหิน ..จะทำระยำตำบอนกับเมืองของเรา
พวกเราเหล่ายอดมนุษย์ ถึงเวลาแล้วที่ต้องปกป้องเมืองของเราจาก
ผู้บริหารใจทราม กับผู้รับเหมาโลภมาก
โย่.....
๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
เห็นด้วยสุดๆครับ เป็นเรื่องใกล้ตัวสุดๆเพราะว่ากลุ่มหินห่าเหวอะไรเนี่ยมันมากองอยู่กลางเลนถนนผ่านหน้าบ้านผมเอง เคยมีกรณีมอไซต์แฉลบแล้วคนขี่ต้องไปตายเพราะหัวไปโหม่งกะหิน จนญาติเค้ามาฟ้องร้อง สุดท้ายต้องยกออกไปจนหมด ผลงานในช่วงบั้นปลายชีวิตของนายกเล็กเมืองพะเยานั่นเองครับ ตัวดีเลยคนนี้อ่ะ มีอีกเยอะ
แสดงความคิดเห็น